วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์เด็กผู้ชายด้วยตัวรับรู้ไจโร (Gyro Boy)

การทดลองที่ 3
หุ่นยนต์เด็กผู้ชายด้วยตัวรับรู้ไจโร (Gyro Boy)

1.1 วัตถุประสงค์
1.1.1 เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ตามรูปแบบได้
1.1.2 เพื่อให้สามารถออกแบบสร้างสรรค์โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์เด็กผู้ชายด้วยตัวรับรู้ไจโร (Gyro Boy) ได้
1.1.3 เพื่อให้สามารถเรียนรู้หลักการทำงานของหุ่นยนต์ตามรูปแบบที่กำหนด (Gyro Boy)
1.2 เครื่องมือ / อุปกรณ์ / วัสดุ
          1.2.1 LEGO Mindstorms EV.3 Education 1 ชุด
1.3 การเตรียมชิ้นงาน/ปฏิบัติงาน/ทดลอง/เครื่องมือ/อุปกรณ์
          1.3.1 ชิ้นส่วนต่างๆที่ต้องเตรียมในการนำมาประกอบเป็นหุ่นยนต์ มีดังนี้




1.3.2 ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงร่างตามแบบที่กำหนด


1.4 ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน/ทดลอง
1.4.1 เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบหุ่นยนต์ไว้แล้วบันทึกผลการปฏิบัติงาน



บันทึกผลการปฏิบัติงาน




          
1.4.2 ประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์เข้าด้วยกันแล้วบันทึกผลประกอบชิ้นส่วน
บันทึกผลประกอบชิ้นส่วน

1.4.3 ทดสอบการขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ที่ประกอบโครงร่างแล้วบันทึกผลการทดลอง
บันทึกผลการทดลอง
           รูปแบบการเคลื่อนที่ แบบที่ 1

          จากรูปการทำงานของโปรแกรม ที่ได้ออกแบบไว้มี 3 ส่วน ดังนี้

1.      บล็อก Configuration การกำหนดค่าเริ่มต้นลักษณะให้กับหุ่นยนต์เพื่อให้หุ่นยนต์รู้วิธีที่จะรักษาความสมดุล ตัวอย่างเช่น


การตั้งค่าในบล็อกที่ 2 ของส่วน Configuration จะเป็นการระบุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อของหุ่นยนต์

2.      Balance Loop

ในส่วนของ Balance Loop ทำหน้าที่ช่วยให้หุ่นยนต์มีความสมดุล จะวัดและคำนวณตำแหน่งและความเร็วของมอเตอร์และจะกำหนดความเร็วของมุมของหุ่นยนต์ (ความเร็วที่ตกลงมา) รวมถึงมุมของหุ่นยนต์ที่สัมพันธ์กับพื้นดิน ในทางกลับกันจะใช้ข้อมูลจาก Gyro Sensor ในการคำนวณว่าจะขับเคลื่อนมอเตอร์เพื่อให้หุ่นยนต์การทรงตัวถูกต้องได้อย่างไร

3.      Drive Control Loop เป็นการควบคุมความเร็วและทิศทางของหุ่นยนต์ในขณะที่มันเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ 

โดยเราสามารถ set ค่า speed (ความเร็วในการเคลื่อนที่) และ steering (องศาของทิศทาง) ได้ตามต้องการ เช่น

โดยโปรแกรมรูปแบบแรกมีหลักการทำงาน คือ เริ่มต้นโปรแกรมด้วยการอ่านค่าจาก       Gyro Sensor และค่าที่ได้ถูกกำหนดไว้ในส่วน Configuration จะคำนวณตำแหน่งและความเร็วของมอเตอร์และจะกำหนดความเร็วของมุมของหุ่นยนต์ (ความเร็วที่ตกลงมา) รวมถึงมุมของหุ่นยนต์ที่สัมพันธ์กับพื้นดิน ในทางกลับกันจะใช้ข้อมูลเซ็นเซอร์นี้ในการคำนวณว่าจะขับเคลื่อนมอเตอร์ในการปรับสมดุลของหุ่นยนต์อย่างไร
เมื่อหุ่นยนต์สามารถทรงตัวได้อย่างสมดุล จะเข้าสู่ Drive Control Loop เพื่อ เคลื่อนที่ไปตามตามที่เรากำหนด โดยโปรแกรมนี้กำหนดการเคลื่อนที่ไว้ว่า

-          อยู่กับที่ 7 วินาที
-          หมุนไปขวา 20 องศา รอ 7 วินาที
-          เคลื่อนที่ไป

รูปแบบการเคลื่อนที่ แบบที่ 2


จากรูปการทำงานของโปรแกรม ที่ได้ออกแบบไว้ มีดังนี้
ในส่วนการทำงานของโปรแกรมที่ 2 นี้ มีส่วนที่ทำงานเหมือนกับการทำงานของแบบที่ 1 คือส่วน Configuration และ ส่วน Balance Loop
ส่วนใน Drive Loop ที่มีการควบคุมการเคลื่อนที่ต่างกัน โดยแบบที่ 2 มีลักษณะการเคลื่อนที่ดังนี้

-                      มีเสียงดังบี้บ 1 ครั้ง เมื่อหุ่นยนต์ set balance สำเร็จ แสดงผลรูปลูกตาหุ่นยนต์ที่หน้าจและจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าช้าๆ Speed = 20 จนถ้าเจอสิ่งกีดขวางในระยะ < 30 ซม. จะสั่งการให้หุ่นยนต์ถอยหลัง 2 วินาทีแล้วเลี้ยวขวาเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆจนกว่าจะ กดปุ่ม Cancel

1.5 สรุปผลการทดลอง

          จากการทดลองประกอบชิ้นส่วนขึ้นเป็นรูปร่างของหุ่นยนต์ พร้อมทั้งออกแบบโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ เพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปตามที่กำหนด ทั้งกำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆเพื่อให้หุ่นยนต์นั้นสามารถทรงตัวอยู่แนวดิ่งได้โดยมีไจโรเซ็นเซอร์เป็นตัวตรวจรู้ที่สำคัญในการทรงตัวของหุ่นยนต์ โดยการทดลองข้างต้นนี้ได้ออกแบบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ไว้ 2 แบบตามที่ได้ระบุไว้ในส่วนอธิบายโปรแกรม ผลปรากฏว่า หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่ออกแบบไว้ทั้ง 2 แบบ การทดลองหุ่นยนต์เด็กผู้ชายด้วยตัวรับรู้ไจโร (Gyro Boy) ทำให้รู้ถึงหลักการทำงานของตัวไจโรเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ทำให้หุ่นยนต์ทรงตัวได้



วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

LEGO Mindstorms EV.3 Education ตัวเรียงสีชิ้นงาน (Color Sorter)



การทดลองที่ 2
ตัวเรียงสีชิ้นงาน (Color Sorter)

1.1 วัตถุประสงค์
1.1.1 เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ตามรูปแบบได้
1.1.2 เพื่อให้สามารถออกแบบสร้างสรรค์โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ตัวเรียงสีชิ้นงาน (Color Sorter) ได้
1.1.3 เพื่อให้สามารถเรียนรู้หลักการทำงานของหุ่นยนต์ตามรูปแบบที่กำหนด (Color Sorter)
1.2 เครื่องมือ / อุปกรณ์ / วัสดุ
          1.2.1 LEGO Mindstorms EV.3 Education 1 ชุด
1.3 การเตรียมชิ้นงาน/ปฏิบัติงาน/ทดลอง/เครื่องมือ/อุปกรณ์
          1.3.1 ชิ้นส่วนต่างๆที่ต้องเตรียมในการนำมาประกอบเป็นหุ่นยนต์ มีดังนี้

        





1.3.2 ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงร่างตามแบบที่กำหนด


1.4 ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน/ทดลอง
     1.4.1 เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบหุ่นยนต์ไว้แล้วบันทึกผลการปฏิบัติงาน
             


บันทึกผลการปฏิบัติงาน
     

1.4.2 ประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์เข้าด้วยกันแล้วบันทึกผลประกอบชิ้นส่วน
บันทึกผลประกอบชิ้นส่วน


1.4.3 ทดสอบการขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ที่ประกอบโครงร่างแล้วบันทึกผลการทดลอง
บันทึกผลการทดลอง
           รูปแบบการเคลื่อนที่ แบบที่ 1
                                           

          จากรูปการทำงานของโปรแกรม ที่ได้ออกแบบไว้ มีดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยการเช็คว่าการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ครั้งแรก/สิ้นคำสั่งสุดท้ายของการทำงานของโปรแกรม ว่าสล็อตลำเลียงสินค้าสีต่างๆได้อยู่ที่ บริเวณจุดเริ่มต้น (Home) ของสล็อตรึเปล่า อยู่ด้านซ้ายสุดบริเวณสายพานลำเรียงหรือเปล่า โดยจะมี Touch Sensor คอยเช็คที่บริเวณจุดเริ่มต้นของสล็อตลำเลียง ถ้าไม่อยู่บริเวณ Home ระบบจะสั่งให้ Large Motor ทำงาน เพื่อลำเลียงสายพานไปยังบริเวณ Home (บริเวณที่สัมผัสกับ Touch Sensor)
2. จากนั้นระบบจะอยู่ในสถานะรอผู้ช้งานนำสินค้าสีต่างๆมาตรวจสอบสีกับ Color Sensor โดยเมื่อมีการเก็บค่าสีไว้ในอาเรย์โดยตั้ง Valua ไว้ว่า Blue = 2, Green = 3, Yellow = 4, Red = 5 โดยถ้า Color Sensor รับค่า สีใดของสินค้ามา ก็จะเก็บค่าตัวเลขของสีนั้นไว้ใน Array โดยรับค่าสีสินค้าได้ไม่เกิน 5 ชิ้น หรือถ้าต้องการให้หุ่นยนต์ทำการลำเลียงโดนที่สินค้ามี > 0&&<5 ก็สามารถทำได้โดยกดปุ่มกลางโปรแกรมก็จะสั่งให้ลำเลียงไปจุดต่างๆต่อไป

3. ต่อไปโปรแกรมจะนำค่าใน Array มาตรวจสอบเงื่อนไข โดยมีการสร้างเงื่อนไข switch case ไว้คือ
- เริ่มที่ case 2 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ    degrees = 10}
- ที่ case 3 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ        degrees = 132}
- ที่ case 4 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ        degrees = 360}
- ที่ case 5 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ        degrees = 530}


4. เมื่อโปรแกรมทำงาน case ใด case หนึ่งเสร็จ  Medium Motor ที่อยู่กับสล็อตลำเลียงจะผลักสินค้าสีนั้นๆ ไปยังภาชนะตำแหน่งที่เซ็ทไว้ในแต่ละ case แล้วก็กลับมายังจุด Home เพื่อลำเลียงสินค้าชิ้นต่อไป
5. โดยจะมีการวนทำงานขั้นตอนที่ 3, 4 ไปเรื่อยๆ จนหมดสินค้า
6. กลับมาที่จุด Home เพื่อทำในงานในขั้นตอนที่ 2 – 6 ต่อไป เรื่อยๆจนครบ 3 รอบ เครื่องจะหยุดการทำงาน 

รูปแบบการเคลื่อนที่ แบบที่ 2

จากรูปการทำงานของโปรแกรม ที่ได้ออกแบบไว้ มีดังนี้
1.เริ่มต้นด้วยการเช็คว่าการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ครั้งแรก/สิ้นคำสั่งสุดท้ายของการทำงานของโปรแกรม ว่าสล็อตลำเลียงสินค้าสีต่างๆได้อยู่ที่ บริเวณจุดเริ่มต้น (Home) ของสล็อตรึเปล่า อยู่ด้านซ้ายสุดบริเวณสายพานลำเรียงหรือเปล่า โดยจะมี Touch Sensor คอยเช็คที่บริเวณจุดเริ่มต้นของสล็อตลำเลียง ถ้าไม่อยู่บริเวณ Home ระบบจะสั่งให้ Large Motor ทำงาน เพื่อลำเลียงสายพานไปยังบริเวณ Home (บริเวณที่สัมผัสกับ Touch Sensor)
2.จากนั้นระบบจะอยู่ในสถานะรอผู้ช้งานนำสินค้าสีต่างๆมาตรวจสอบสีกับ Color Sensor โดยเมื่อมีการเก็บค่าสีไว้ในอาเรย์โดยตั้ง Valua ไว้ว่า Blue = 2, Green = 3, Yellow = 4, Red = 5 โดยถ้า Color Sensor รับค่า สีใดของสินค้ามา ก็จะเก็บค่าตัวเลขของสีนั้นไว้ใน Array พร้อมทั้งแสดง สถานะจำนวนสินค้าไว้บนหน้าจอด้วย โดยรับค่าสีสินค้าได้ไม่เกิน 8 ชิ้น หรือถ้าต้องการให้หุ่นยนต์ทำการลำเลียงโดนที่สินค้ามี > 0&&<8 ก็สามารถทำได้โดยกดปุ่มกลางโปรแกรมก็จะสั่งให้ลำเลียงไปจุดต่างๆต่อไป



3. ต่อไปโปรแกรมจะนำค่าใน Array มาตรวจสอบเงื่อนไข โดยมีการสร้างเงื่อนไข switch case ไว้คือ

- เริ่มที่ case 2 {display เสียง Blue+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 10}
- ที่ case 3 {display เสียง Green+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 132}
- ที่ case 4 {display เสียง Yellow+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 360}
- ที่ case 5 {display เสียง Red+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 530}
4. เมื่อโปรแกรมทำงาน case ใด case หนึ่งเสร็จ  Medium Motor ที่อยู่กับสล็อตลำเลียงจะผลักสินค้าสีนั้นๆ ไปยังภาชนะตำแหน่งที่เซ็ทไว้ในแต่ละ case แล้วก็กลับมายังจุด Home เพื่อลำเลียงสินค้าชิ้นต่อไป
5. โดยจะมีการวนทำงานขั้นตอนที่ 3, 4 ไปเรื่อยๆ                                                           จนหมดสินค้า
6. กลับมาที่จุด Home เพื่อทำในงานในขั้นตอนที่ 2 – 6 ต่อไป 

ลิ้งสำหรับไฟล์โปรแกรมทั้ง 2 แบบ
https://drive.google.com/drive/folders/0B_SuowEAmOPIZXZ5REM5ZzlheUk?usp=sharing

1.5 สรุปผลการทดลอง
          จากการทดลองประกอบชิ้นส่วนขึ้นเป็นรูปร่างของหุ่นยนต์ตัวเรียงสีชิ้นงาน (Color Sorter) พร้อมทั้งออกแบบโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ เพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่กำหนด ทั้งรับค่าสีต่างๆมาจำแนก ลำเลียงชิ้นงานแต่ละสีไปยังจุดที่กำหนดไว้ โดยการทดลองข้างต้นนี้ได้ออกแบบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ 2 แบบคือ รับค่าสีจากชิ้นงานจำนวนชิ้นตามที่กำหนดแล้วก็ลำเลียงชิ้นงานแต่ละสีไปยังจุดที่กำหนด และแบบรับค่าสีจากชิ้นงานจำนวนชิ้นตามที่กำหนดแล้วก็ลำเลียงชิ้นงานแต่ละสีไปยังจุดที่กำหนดและมีเสียงกับการแสดงผลสถานะที่หน้าจอหุ่นยนต์เพื่อบอกสถานะ การทำงาน ผลปรากฏว่า หุ่นยนต์ทำงานได้ตรงตามที่ได้กำหนดกับโปรแกรมไว้ในข้างต้นทั้ง 2 แบบ

          การทดลองที่ 2 ตัวเรียงสีชิ้นงาน (Color Sorter) ทำให้รู้ถึงหลักการทำงานของการลำเลียงชิ้นงานเพื่อลำเลียงชิ้นงานไปยังจุดต่างๆได้อย่างไร และสามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้กับงานจริงในงานอุตสาหกรรมต่างๆได้  




วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

“ เกาะสี่ เกาะห้า ” ขุมทรัพย์กลางทะเลสาบสงขลา


“ เกาะสี่เกาะห้า ”  ขุมทรัพย์กลางทะเลสาบสงขลา

บทนำ

             “ พัทลุง ” เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย สันนิษฐานว่าพัทลุงเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ได้โปรดให้ยกเมืองพัทลุงเป็นเมืองขึ้นตรงต่อกลาโหม โดยมีฐานะเป็นเมืองชั้นโท เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงปฏิรูปการปกครอง เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองพัทลุงได้ถูกจัดให้ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราชจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ.๒๔๗๖ พัทลุงจึงได้มีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
           “ ทะเลสาบงาม เมืองสามแผ่นดิน ถิ่นรังนกนางแอ่น แท่นพระนอนยอดเขา ภูมิลำเนาสัตว์น้ำกร่อย ”   เป็นคำขวัญของอำเภอปากพะยูน อำเภอเล็กๆ  แต่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์ของจังหวัดพัทลุง  เป็นอำเภอที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมแห่งชีวิตของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เกิดความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมและวิถีชีวิต  ที่มีความงดงามและมีเสน่ห์ในแบบของตนเอง หลายชีวิตที่อาศัยอยู่ ณ สายน้ำแห่งนี้ล้วนมีอัตลักษณ์  กล่าวคือ การดำรงอยู่ที่ต้องพึ่งพิงน้ำเป็นสำคัญ  ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น  เพราะแม้แต่ นกนางแอ่น  สัตว์ปีกขนาดเล็กที่เวียนว่ายสร้างอาณาจักรอยู่ในลุ่มน้ำแห่งนี้มาช้านานเช่นเดียวกัน  ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่เลื่องลือถึงความงดงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติมีเกาะแก่งน้อยใหญ่ และมรดกอันล้ำค่าที่ธรรมชาติได้สรรค์สร้าง “ เกาะรังนก ”  หรือเกาะสี่ เกาะห้า  ซึ่งเป็นที่ผลิตรังนกที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย  ถือเป็นสมบัติสำคัญอีกอย่างหนึ่งของแผ่นดินนอกเหนือจากทรัพยากรอื่น
          “ เกาะหมาก ” เป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  ซึ่งตำบลเกาะหมากเป็นตำบลที่มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติและมีคุณค่าต่อจังหวัดพัทลุงเป็นอย่างมาก

            “ เกาะสี่ เกาะห้า” เป็นเกาะหินปูนที่มีโพรงถ้ำมากมาย  เป็นแหล่งอาศัยของนกนางแอ่นทะเลจำนวนมากทำรังอยู่ในถ้ำต่างๆ  บนเกาะ ๗  เกาะ ไม่ว่าจะเป็นเกาะท้ายถ้ำดำ เกาะรูสิม  เกาะหน้าเทวดา เกาะมวย เกาะกันตัง เกาะยายสาและเกาะตาโส  เกาะสี่ เกาะห้าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เคยเสด็จประพาสต้นและทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้ ณ บริเวณหน้าผาซึ่งเรียกว่า “หน้าผาเทวดา”  นับว่าเกาะแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดพัทลุงอย่างมหาศาล
การศึกษาถึงเรื่องราว “เกาะสี่ เกาะห้า” ขุมทรัพย์กลางทะเลสาบสงขลา ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของจังหวัดพัทลุงตั้งแต่ ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพัทลุง ประวัติความเป็นมาของอำเภอปากพะยูน ประวัติความเป็นมาของตำบลเกาะหมาก ประวัติความเป็นมาของเกาะสี่ เกาะห้า นกนางแอ่นทะเล  การผสมพันธุ์และการสร้างรังของนกนางแอ่นทะเล การเก็บรังนก  คุณค่าของรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า   การสัมปทานรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า  ตลอดจนเรื่องรายได้จากรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า 

เกาะสี่ เกาะห้า ขุมทรัพย์กลางทะเลสาบสงขลา
               เกาะสี่ เกาะห้าเป็นเกาะที่นกนางแอ่นทะเลจำนวนมากทำรังอยู่ในถ้ำต่างๆ  ที่ได้ชื่อว่าขุมทรัพย์ของจังหวัดพัทลุง เพราะรายได้จากการสัมปทานรังนกของจังหวัดพัทลุงแต่ละปีสร้างรายได้เป็นเงินมหาศาล ส่วนองค์ประกอบอื่นที่ทำให้เกาะสี่เกาะห้าได้ชื่อว่าเกาะมหาสมบัตินั้นประกอบด้วย
                                               


              นกนางแอ่นทะเล
               จังหวัดพัทลุงพบนกนางแอ่นทะเลที่อาศัยอยู่ในถ้ำต่างๆบนหมู่เกาะสี่ เกาะห้า ๒ ชนิด คือ นกแอ่นกินรัง (Collocalia fucifaga) เป็นนกขนาดเล็กเท่านกกระจอกบ้าน มีขนปกคลุมสีเทาค่อนข้างไปทางดำ ขนด้านท้องสีน้ำตาลขนด้านบนสีดำอมน้ำตาลขนปีกยาวและคลุมหาง หางเป็นแฉกเล็กน้อย   จงอยปากสั้นกว้างมีสีดำ ม่านตาสีดำ นกเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก นกเพศผู้มีขนาดโตกว่าเล็กน้อย (กรมป่าไม้, ๒๕๒๑; Giles, ๑๙๓๖) และนกแอ่นกินรังตะโพกขาว (Collocalia geramanni Oustalet) มีสะโพกสีขาว ขนทางด้านใต้ท้องมีลายขวางสีดำสลับขาว หางเป็นแฉกมองเห็นได้ชัดเจน
                นกนางแอ่นทะเลนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เพราะเป็นตัวสร้างรายได้ให้กับจังหวัดพัทลุงอย่างมหาศาล ด้วยการผลิตรังนกที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
                    การผสมพันธุ์การสร้างรังและการขยายพันธุ์ของนกนางแอ่นทะเล
               นกนางแอ่นทะเลมีฤดูกาลผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี(กรมป่าไม้,๒๕๒๑) ปกตินกเพศเมียจะสร้างรังโดยลำพัง  ยกเว้นรังที่สามซึ่งนกเพศผู้และเพศเมียจะช่วยกันสร้าง นกจะสร้างรังในเวลากลางคืนและใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน รังมีรูปร่างเป็นรูปถ้วยครึ่งซีก  เมื่อแห้งและแข็งตัวจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับวุ้นเส้นที่อัดตัวกันแน่นโดยตัวรังจะถูกตรึงติดอยู่กับผนังถ้ำ  นกนางแอ่นทะเลที่มีอายุประมาณ ๓ ปี จะสร้างรังได้ดีที่สุด หลังจากสร้างรังเสร็จนกจะวางไข่สองฟองต่อรังและแม่นกจะฟักไข่ในเวลากลางคืน  ไขจะฟักออกเป็นตัวประมาณ ๓ สัปดาห์ ลูกนกที่มีอายุประมาณ ๖ สัปดาห์ก็จะบินออกจากรังได้ (นิสา พงศ์ชู, ๒๕๒๘; วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, ๒๕๒๖) นกนางแอ่นทะเลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเดียวที่มีพฤติกรรมสร้างรังทดแทนรังแรกจะมีสีขาวหรือขาวมอ รังต่อไปจะมีสีเหลือง และอาจมีขนนกปนอยู่บ้าง หรือไม่ก็มีสีแดงของเลือดผสมอยู่ด้วย (นิสา พงศ์ชู, ๒๕๒๘; โอภาส ขอบเขตต์, ๒๕๔๒) นกนางแอ่นทะเลจะสร้าง   รังที่ ๒ โดยใช้เวลาสร้างประมาณ ๓ สัปดาห์ และถ้าถูกทำลายอีก นกจะสร้างรังที่ ๓ โดยใช้เวลาประมาณ ๓สัปดาห์เช่นกัน และจะสร้างเพียงแค่ ๓ รังเท่านั้น
                การผสมพันธุ์ การสร้างรัง และการขยายพันธุ์ของนกนางแอ่นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกาะสี่ เกาะห้า เป็นเกาะแห่งขุมทรัพย์กลางทะเลสาบเนื่องจากการผสมพันธุ์ การสร้างรัง และการขยายพันธุ์ของนกนางแอ่นทำให้จำนวนประชากรนกนางแอ่นทะเลเพิ่มขึ้น ทำให้นกนางแอ่นทะเลผลิตรังนกได้ในแต่ละปีมีเพิ่มมากขึ้น รายได้จากการขายรังนกก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
             การเก็บรังนก
             การเก็บรังนกในประเทศไทยนิยมเก็บรังแรกและรังที่ ๒ หลังจากนั้นก็จะปล่อยให้นกสร้างรังที่ ๓ เพื่อให้นกวางไข่และฟักไข่ได้ตามปกติ อนึ่ง การเก็บรังนกในแต่ละท้องที่จะแตกต่างกันไป ไม่ว่าเรื่องระยะเวลาหรือเครื่องมือที่ใช้ในการแทงรังนก ทั้งนี้ สถานที่ที่นกทำรังมีสภาพที่ต่างกัน
            ส่วนการเก็บรังนกหรือแทงรังนกในถ้ำต่างๆ บริเวณหมู่เกาะสี่ เกาะห้า จังหวัดพัทลุง ผู้รับอนุญาตจะแทงได้ปีละ ๓ ครั้ง ดังนี้คือ ครั้งที่ ๑-๒ ตั้งแต่เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ จนถึงเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และครั้งที่ ๓ ตั้งแต่เดือน ๑๐ ข้างขึ้น จนถึงเดือน ๑๐ แรม ๑๕ ค่ำ ของทุกปี ตามปีจันทรคติ หรือประมาณเดือนมีนาคม พฤษภาคมและกันยายน ตามปีทางสุริยคติ  การแทงรังนกนางแอ่นครั้งที่ ๓ นั้น ผู้อนุญาตจะลงมือกระทำการได้ต่อเมื่อลูกนกนางแอ่นทะเลบินออกไปจากรังหมดแล้วเท่านั้น (กรมสรรพากร,๒๕๔๐ อ้างถึงในธรรมรงค์ อุทัยรังษี,๒๕๔๒) ทั้งนี้เพื่อเป็นการบำรุงพันธุ์นกนางแอ่นทะเลให้มีจำนวนมากขึ้น
              อย่างไรก็ดี ห้วงเวลาการเก็บรังนกที่หมู่เกาะสี่ เกาะห้าสามารถดำเนินการได้ก่อนพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศไทยไทยประมาณ ๑๐ วัน (Giles, 1936) และเนื่องจากนกนางแอ่นทะเลที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะแห่งนี้ทำรังอยู่บนเพดานถ้ำซึ่งสูงมากผู้เก็บรังนกที่เรียกว่า “ชาหอ” จะต้องปีนป่ายพะองไม้ไผ่หรือไต่เชือก แล้วใช้ “ถ่อ” ซึ่งเป็นเครื่องมือเก็บรังนก แซะรังนกให้ตกลงมา
         การเก็บรังนกโดยวิธีนี้ทำให้สูญเสียไข่นกและลูกนกคราวละมากๆได้เนื่องจาก “ชาหอ” ไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่ารังนกที่กำลังจะแทงหรือแซะอยู่นั้นเป็นรังที่มีไข่นกหรือลูกนก และหากมีลูกนกติดลงมา ก็จะมีการนำเอาซากลูกนกไปย่างไฟและจำหน่ายแก่ผู้นิยมกินลูกนกนางแอ่นเป็นยาบำรุงกำลัง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
           จากการศึกษาพระราชปรารภในจดหมายเหตุเสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ.๑๐๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นหมู่เกาะสี่ เกาะห้า และเมืองพัทลุง ระหว่างวันที่ ๒๒ ถึง ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ความตอนหนึ่งว่า “แต่ดีอย่างหนึ่งที่เก็บรังนกแต่ปีละสองครั้งเท่านั้น แต่เดิมมา ก็ว่าเก็บสามครั้ง แต่นกน้อยไปทุกๆปี จึงได้เปลี่ยนเป็นเก็บสองครั้ง แต่นั้นมานกก็มากขึ้นรังก็หนากว่ารังที่ชุมพร ฉันเห็นว่ารังนกที่ชุมพรควรจะบังคับให้เก็บแต่สองครั้งได้เหมือนกันจึงจะดี ถ้าคงเก็บอยู่สามคราวเช่นนี้นกคงจะหมดลงไปเสมอ ที่สงขลามีนกน้อยจึงได้รู้สึกได้เร็ว ที่ชุมพรมีนกมากก็ไม่รู้สึกและมีภาษีผูกขาดแท้ เจ้าภาษีคิดแต่จะหาประโยชน์ชั่วเวลาที่ตัวทำ ไม่ได้คิดบำรุงรักษาเผื่อการภายหน้า ถ้าไม่จักการตรวจตรามีข้อบังคับเสียให้ดี รังนกคงจะตกลงไปทุกปี”
              การเก็บรังนกในเกาะสี่ เกาะห้า  จะเว้นรังที่ ๓ ไว้เพื่อให้นกวางไข่และฟักไข่ได้ตามปกติ ทำให้มีจำนวนนกนางแอ่นทะเลเพิ่มมากขึ้น   ทำให้ผลผลิตรังนกก็จะมากขึ้น  รายได้จากการขายรังนกก็จะเพิ่มขึ้นด้วย



              คุณค่าของรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า
              นกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า จัดเป็นนกที่มีความอุดมสมบูรณ์มากของประเทศ เพราะเป็นนก ๓ น้ำ กล่าวคือ นกนางแอ่นทะเลที่เกาะสี่ เกาะห้าสามารถหากินได้ตลอดทั้งปี เพราะมี แหล่งน้ำจืด  น้ำเค็มและน้ำกร่อย ของทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย จึงมีอาหารที่สมบูรณ์  รังนกจึงหนากว่าพื้นที่อื่นๆ
              รังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้าจัดเป็นรังนกที่มีคุณภาพมากที่สุดของประเทศ  จึงทำให้มีราคาแพงกว่า   และเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่ารังนกจากพื้นที่อื่น
             การสัมปทานรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า
            ในปี พ.ศ.๒๓๖๗ รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้มีการสัมปทานรังนก และหมู่เกาะสี่ เกาะห้าก็จัดให้อยู่ในเขตสัมปทานรังนกด้วย (ญาดา ประภาพันธ์,๒๕๒๔) ต่อมาเมื่อทางราชการได้กล่าวกฤษฎีกากำหนดเกาะที่นกนางแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติเป็นเขตห้ามของรัฐไว้ ๕ เกาะ ได้แก่ เกาะรูสิม  เกาะหน้าเทวดาเกาะกันตัง เกาะตาโสและเกาะยายสา(ราชกิจจานุเบกษา,๒๔๘๕ อ้างถึงในธรรมรงค์ อุทัยรังสี,๒๕๔๒) และได้เพิ่มเติมอีก ๒ เกาะอีกในภายหลัง คือ เกาะท้ายถ้ำดำ และเกาะรอก (ที่ทำการปกครองจังหวัดพัทลุง,๒๕๔๐)
             เกาะสี่ เกาะห้าตั้งอยู่ในเขตท้องที่หมู่ที่ ๓ บ้านเขาชัน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  เมื่อก่อนเป็นที่สัมปทานรังนกแห่งหนึ่งของบริษัท รังนกแหลมทอง(สยาม) จำกัด ตามพระราชบัญญัติรังนกนางแอ่นพุทธศักราช ๒๔๘๒ ฉบับที่ ๑-๓ บริษัทนี้เป็นผู้ถือสัมปทานอย่างต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ การต่อสัญญาแต่ละครั้งมีระยะเวลา ๕ ปี เป็นเงินอากร ๓๕๐ ล้านบาท (กระทรวงการคลัง,๒๕๔๐ อ้างถึงใน ธรรมรงค์ อุทัยรังสี,๒๕๔๒)
             ปัจจุบันบริษัท เคโอซี อิมปอร์ต เอ็กปอร์ต จำกัดผู้ได้รับสัมปทาน เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๒ ในวงเงิน ๗๐๙ ล้านบาท ระยะเวลา ๗ ปี เฉลี่ยปีละ ๑๐๐ กว่าล้านบาท โดยมีนายเกียรติกร ทรัพย์พิบูลผล เป็นเจ้าของ การประมูลครั้งนี้ถือว่าจังหวัดพัทลุงได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการสัมปทานในครั้งก่อนๆ
             ส่วนเงินค่าสัมปทานดังกล่าวนั้น ได้จัดสรรให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากได้ถึง ๔๐ % ในฐานะเจ้าของพื้นที่ ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ ๑๒ % และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆได้รายละกว่า ๑ ล้านบาท
               การสัมปทานรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า  ทำให้จังหวัดพัทลุงมีรายได้ เฉลี่ยปีละ ๑๐๐ กว่าล้านบาทเลยทีเดียว          
              รายได้จากรังนกในเกาะสี่ เกาะห้า
              นายประเสริฐ  ดำสุด  อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงและอดีตคณะกรรมการกิจการรังนกนางแอ่นจังหวัดพัทลุง ได้กล่าวว่า รังนกนางแอ่นของพัทลุงมีผลผลิตประมาณ ๓,๐๐๐ กิโลกรัม/ปี โดยเกรดดี มีราคาในประเทศโดยประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท/กิโลกรัม แต่ราคาส่งออกประมาณ ๑๖๐,๐๐๐- ๑๗๐,๐๐๐ บาท/กิโลกรัม และรังนกนางแอ่นเกาะสี่ เกาะห้ามีความต้องการของตลาดสูง โดยสร้างรายได้เฉลี่ยกว่า ๓๐๐ ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
           รายได้จากรังนกในเกาะสี่ เกาะห้า  เฉลี่ยกว่า ๓๐๐ ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว เนื่องจากรังนกนางแอ่นในเกาะสี่ เกาะห้ามีผลผลิตจำนวนมากและมีความต้องการของตลาดสูง
“ทะเลสาบสงขลา”แหล่งกำเนิดเกาะสี่ เกาะห้า
             ลักษณะภูมิประเทศของทะเลสาบสงขลา
             ทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่บนชายฝั่งด้านตะวันออกของภาคใต้ มีเนื้อที่ ๙๘๐๗ ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น  ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นดินมีเนื้อที่ประมาณ ๘๗๖๑ ตารางกิโลเมตร และส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีพื้นที่ประมาณ ๑๐๔๖ ตารางกิโลเมตร มีความกว้างจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ส่วนความยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ ๗๕ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลาบางส่วน จังหวัดนครศรีธรรมราชบางส่วน และจังหวัดพัทลุงทั้งหมด ทะเลสาบสงขลา สามารถแบ่งออกได้เป็น  ตอนใหญ่ๆ ได้ดังนี้ ทะเลน้อย  ทะเลหลวง(ทะเลสาบสงขลาตอนบน)  ทะเลสาบสงขลา (ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง) ทะเลสาบ(ทะเลสาบตอนกลาง) อยู่ถัดจากทะเลหลวงลงมา ตั้งแต่บริเวณแนวเกาะใหญ่ทางใต้ไปบรรจบกับเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง อำเภอสทิงพระจนถึงบริเวณปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลามีพื้นที่ประมาณ ๓๗๗.๒๐ ตารางกิโลเมตร ความลึกประมาณ  เมตร พื้นที่ส่วนนี้เป็นการผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืดจึงทำให้มีสภาพเป็นทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ทะเลสาบแห่งนี้เป็นทะเลสาบที่สำคัญมาก กล่าวคือ ทะเลสาบแห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดของ “เกาะรังนก” หรือเกาะสี่ เกาะห้า ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดพัทลุงเป็นมูลค่ามหาศาล
                   ความสำคัญของทะเลสาบสงขลา
               ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งมีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็มอยู่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์อยู่ตลอดเวลา ดินแดนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันคือพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงทั้งหมด จังหวัดสงขลาบางส่วน จังหวัดนครศรีธรรมราชบางส่วน
               ทะเลสาบสงขลานั้นมีลักษณะพิเศษกว่าทะเลสาบทั้งปวง เพราะมีน้ำธรรมชาติอยู่ร่วมกันถึง 3 ชนิด คือน้ำเค็มตั้งแต่ปากอ่าวสงขลามาจนถึงปากรอ จากปากรอมาจนถึงบริเวณเกาะสี่ เกาะห้า อันเป็นแหล่งรังนกนางแอ่นที่ดีเลิศของโลกเป็นน้ำกร่อย ถัดจากนี้ไปยังฝั่งพัทลุงและระโนดเป็นน้ำจืด  เมื่อถึงฤดูฝน น้ำจืดจะหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ พื้นที่น้ำจืดก็จะขยายไปจนถึงปากรอ พื้นที่น้ำกร่อยก็จะขับขยายไล่น้ำเค็มออกไปจนถึงใกล้ปากอ่าวสงขลา จากนั้นก็จะเป็นน้ำเค็ม เมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำจืดเหือดแห้งลดลง น้ำทะเลก็หนุนเข้ามา พื้นที่น้ำเค็มก็ขยายไล่น้ำกร่อยมาจนถึงเกาะสี่ เกาะห้า พื้นที่น้ำกร่อยก็ไล่น้ำจืดไปจนถึงบริเวณเกาะใหญ่
               ทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์อยู่ตลอดเวลา  มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นทะเลสาบที่มีความพิเศษกว่าทะเลสาบอื่น อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นกนางแอ่นที่อาศัยอยู่ ณ เกาะแห่งนี้ เป็นนกที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เพราะนกสามารถหากินได้ตลอดทั้งปี ทำให้การสร้างรังของนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้ามีแต่ส่วนประกอบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง รังจะหนากว่ารังนกจากที่อื่น
                องค์ประกอบต่างๆของทะเลสาบสงขลาที่ได้กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกาะสี่ เกาะห้า เป็นเกาะขุมทรัพย์กลางทะเลสาบสงขลาของชาวพัทลุงอย่างแท้จริง
                เกาะสี่ เกาะห้าเป็นเกาะที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีความงามความหลากหลายทางระบบนิเวศ ชวนให้หลงใหลแก่ผู้มาเยือน ณ เกาะแห่งนี้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้เกาะสี่ เกาะห้ายังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่รอให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศมาสัมผัสกับความงดงามและความหลากหลายของเกาะแห่งนี้

       
เกาะสี่ เกาะห้าแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง
      เกาะสี่ เกาะห้าเป็นเกาะที่เปิดให้ท่องเที่ยวแบบเชิงอนุรักษ์ เหตุที่จัดการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากภายนอกได้มาศึกษาถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่สำคัญ อีกส่วนหนึ่งคือเราต้องการให้คนภายนอกได้มาสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของเกาะกลางทะเลสาบแห่งนี้  ทะเลสาบสงขลามีสถานที่สำคัญที่รอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสอีกมากมาย เช่น
               เกาะกระ เป็นเกาะขนาดเล็กกลางทะเลสาบสงขลา เป็นหนึ่งในเกาะสี่เกาะห้า ตั้งอยู่นอกเขตสัมปทานของบริษัทเก็บรังนก และเกาะแห่งนี้เมื่ออดีต ก็เป็นสถานที่หลบภัยของชาวประมงที่หาปลาอยู่ในทะเลสาบ หลังจากที่ได้วางเครื่องมือดักปลาแล้ว ชาวประมงจะล่องเรือไปพักอยู่ที่เกาะ เพื่อรอเก็บปลาที่ดักไว้และเกาะกระก็ไม่มีสัตว์ หรือผู้คนอยู่อาศัย แม้แต่นกอีแอ่นก็ไม่มีการสร้างรังอยู่ในเกาะแห่งนี้ แต่ปัจจุบัน เจ้าของกิจการร้านอาหารริมทะเล ได้ลงทุนสร้างพระพุทธรูปหลวงปู่ทวด เจ้าแม่กวนอิม สระน้ำกระจก ศาลา ๑๒ เหลี่ยม สะพาน ๑๒ นักษัตร พัฒนาทางเดินรอบๆ เกาะ สร้างห้องน้ำห้องส้วม พัฒนาตกแต่งแสงสีภายในถ้ำ มีการนำเจ้าแม่กวนอิมประดิษฐานให้นักท่องเที่ยวได้บูชาขอพรภายในถ้ำ ส่วนด้านนอกรอบๆ เกาะก็ยังมีหินงาม ๓ ชนิด ๕,๐๐๐ ปี เสี่ยงโชคกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง เดินสะพานสั่นระฆัง ๑๒ นักษัตร
         เกาะหน้าถ้ำเทวดา ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานของบริษัทผู้สัมปทานเก็บรังนกนางแอ่นทะเล เพื่อไหว้ขอพรจากพระบรมรูป รัชกาลที่ ๕ และปรมาภิไธยย่อ จปร. ทางบริษัทสัมปทานเก็บรังนกก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ และยังได้นำคณะเข้าไปชมฝูงนกอีแอ่นที่กำลังสร้างรังวางไข่อีกด้วย



 เกาะหน้าถ้ำเทวดา
 ที่มา : www.ok nation.net

  
เกาะกระ
ที่มา www.ok nation.net

           ผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะกระ และเดินทางต่อไปที่เกาะสี่เกาะห้า ในเขตสัมปทานของเอกชนนั้น นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมถ้ำรังนกจะต้องแจ้งขออนุญาตล่วงหน้ากับผู้สัมปทานเก็บรังนก เพื่อความสะดวกในการเดินทางเข้าชมรังนกภายในถ้ำ และที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ยังไม่มีเรือให้บริการนักท่องเที่ยว จะต้องใช้บริการเรือแบบเหมาลำจากท่าเรือเทศบาลตำบลปากพะยูน หรือจัดหาเรือชาวบ้านที่อยู่ริมทะเลสาบในอำเภอปากพะยูน บางแก้ว และอำเภอเขาชัยสน
         แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตสัมปทานของบริษัทเก็บรังนก และเป็นเขตห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเดินทางไปพักผ่อนชมความสวยงามของธรรมชาติบริเวณเกาะรังนก จะต้องนั่งเรือไปตามเส้นทางที่ผู้สัมปทานเปิดให้เข้าชมเท่านั้น
             เกาะสี่ เกาะห้าเป็นเกาะที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีความงามความหลากหลายทางระบบนิเวศ ชวนให้หลงใหลแก่ผู้มาเยือน ณ เกาะแห่งนี้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้เกาะสี่ เกาะห้ายังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จากองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้รู้ว่า นอกเหนือจากรายได้การสัมปทานรังนกที่เป็นเงินมหาศาลแล้ว ยังมีรายได้อีกจำนวนไม่น้อยที่ได้จากการท่องเที่ยวอีกด้วย
บทสรุป
             เกาะสี่ เกาะห้าเป็นเกาะที่นกนางแอ่นทะเลจำนวนมากทำรังอยู่ในถ้ำต่างๆ นกนางแอ่นทะเลนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เพราะเป็นตัวสร้างรายได้ให้กับจังหวัดพัทลุงอย่างมหาศาล ด้วยการผลิตรังนกที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้  จึงทำให้มีราคาแพงกว่า   และเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่ารังนกจากพื้นที่อื่น  การสัมปทานรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า  ทำให้จังหวัดพัทลุงมีรายได้ เฉลี่ยปีละ ๑๐๐ กว่าล้านบาท และมีรายได้จากรังนกในเกาะสี่ เกาะห้า  เฉลี่ยกว่า ๓๐๐ ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
              เกาะสี่ เกาะห้ายังเป็นเกาะที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีความงามความหลากหลายทางระบบนิเวศ ชวนให้หลงใหลแก่ผู้มาเยือน ณ เกาะแห่งนี้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้เกาะสี่ เกาะห้ายังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จากองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้รู้ว่า นอกเหนือจากรายได้การสัมปทานรังนกที่เป็นเงินมหาศาลแล้ว ยังมีรายได้อีกจำนวนไม่น้อยที่ได้จากการท่องเที่ยวบนเกาะแห่งนี้
             จากการศึกษาค้นคว้าเรื่อง “เกาะสี่เกาะห้า” ขุมทรัพย์กลางทะเลสาบสงขลา  ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพัทลุง ประวัติความเป็นมาของอำเภอปากพะยูน ประวัติความเป็นมาของตำบลเกาะหมาก ประวัติความเป็นมาของเกาะสี่ เกาะห้า นกนางแอ่นทะเล การผสมพันธุ์การสร้างรังและการขยายพันธุ์ของนกนางแอ่นทะเล การเก็บรังนก  คุณค่าของรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า   การสัมปทานรังนกนางแอ่นทะเลในเกาะสี่ เกาะห้า  รายได้จากรังนกในเกาะสี่ เกาะห้า  “ทะเลสาบสงขลา”แหล่งกำเนิดเกาะสี่ เกาะห้า  ลักษณะภูมิประเทศของทะเลสาบสงขลา  ความสำคัญของทะเลสาบสงขลาเกาะสี่เกาะห้า แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง เกาะกระ และเกาะหน้าถ้ำเทวดา ทำให้รู้ว่าเกาะกลางทะเลสาบสงขลาที่ผู้คนต่างกล่าวขานกันว่าเป็นเกาะแห่งขุมทรัพย์ของจังหวัดพัทลุงนั้นเป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้จากนกนางแอ่นทะเลที่อาศัยอยู่ในเกาะแห่งนี้ ได้สร้างรังอันล้ำค่า มีราคาเป็นหลักแสนต่อกิโลกรัม อีกทั้งยังทำรายได้ให้กับจังหวัดพัทลุงถึง ๓๐๐ ล้านบาท/ปีเลยทีเดียว
                ตราบใดที่นกนางแอ่นยังอาศัยอยู่ในเกาะสี่ เกาะห้า เกาะแห่งนี้ก็จะเป็นเกาะขุมทรัพย์  กลางทะเลสาบสงขลาต่อไปอีกนานเท่านาน