การทดลองที่ 2
ตัวเรียงสีชิ้นงาน
(Color
Sorter)
1.1 วัตถุประสงค์
1.1.1 เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ตามรูปแบบได้
1.1.2 เพื่อให้สามารถออกแบบสร้างสรรค์โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ตัวเรียงสีชิ้นงาน
(Color Sorter) ได้
1.1.3
เพื่อให้สามารถเรียนรู้หลักการทำงานของหุ่นยนต์ตามรูปแบบที่กำหนด (Color
Sorter)
1.2 เครื่องมือ / อุปกรณ์ / วัสดุ
1.2.1
LEGO
Mindstorms EV.3 Education 1 ชุด
1.3
การเตรียมชิ้นงาน/ปฏิบัติงาน/ทดลอง/เครื่องมือ/อุปกรณ์
1.3.1
ชิ้นส่วนต่างๆที่ต้องเตรียมในการนำมาประกอบเป็นหุ่นยนต์ มีดังนี้
1.3.2
ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงร่างตามแบบที่กำหนด
1.4 ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน/ทดลอง
1.4.1 เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ใช้ในการประกอบหุ่นยนต์ไว้แล้วบันทึกผลการปฏิบัติงาน
บันทึกผลการปฏิบัติงาน
1.4.2 ประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์เข้าด้วยกันแล้วบันทึกผลประกอบชิ้นส่วน
บันทึกผลประกอบชิ้นส่วน
1.4.3
ทดสอบการขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ที่ประกอบโครงร่างแล้วบันทึกผลการทดลอง
บันทึกผลการทดลอง
รูปแบบการเคลื่อนที่
แบบที่ 1
จากรูปการทำงานของโปรแกรม
ที่ได้ออกแบบไว้ มีดังนี้
1.
เริ่มต้นด้วยการเช็คว่าการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ครั้งแรก/สิ้นคำสั่งสุดท้ายของการทำงานของโปรแกรม
ว่าสล็อตลำเลียงสินค้าสีต่างๆได้อยู่ที่ บริเวณจุดเริ่มต้น
(Home) ของสล็อตรึเปล่า อยู่ด้านซ้ายสุดบริเวณสายพานลำเรียงหรือเปล่า
โดยจะมี Touch Sensor คอยเช็คที่บริเวณจุดเริ่มต้นของสล็อตลำเลียง
ถ้าไม่อยู่บริเวณ Home ระบบจะสั่งให้ Large Motor ทำงาน เพื่อลำเลียงสายพานไปยังบริเวณ Home (บริเวณที่สัมผัสกับ
Touch Sensor)
2.
จากนั้นระบบจะอยู่ในสถานะรอผู้ช้งานนำสินค้าสีต่างๆมาตรวจสอบสีกับ Color
Sensor โดยเมื่อมีการเก็บค่าสีไว้ในอาเรย์โดยตั้ง Valua ไว้ว่า Blue = 2, Green = 3, Yellow = 4, Red = 5 โดยถ้า
Color Sensor รับค่า สีใดของสินค้ามา
ก็จะเก็บค่าตัวเลขของสีนั้นไว้ใน Array โดยรับค่าสีสินค้าได้ไม่เกิน
5 ชิ้น หรือถ้าต้องการให้หุ่นยนต์ทำการลำเลียงโดนที่สินค้ามี
> 0&&<5 ก็สามารถทำได้โดยกดปุ่มกลาง
โปรแกรมก็จะสั่งให้ลำเลียงไปจุดต่างๆต่อไป


3. ต่อไปโปรแกรมจะนำค่าใน Array
มาตรวจสอบเงื่อนไข โดยมีการสร้างเงื่อนไข switch case ไว้คือ
- เริ่มที่ case
2 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 10}
- ที่ case
3 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees
= 132}
- ที่ case 4 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 360}
- ที่ case 5 { เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 530}
4. เมื่อโปรแกรมทำงาน case ใด case หนึ่งเสร็จ
Medium Motor ที่อยู่กับสล็อตลำเลียงจะผลักสินค้าสีนั้นๆ
ไปยังภาชนะตำแหน่งที่เซ็ทไว้ในแต่ละ case แล้วก็กลับมายังจุด
Home เพื่อลำเลียงสินค้าชิ้นต่อไป
5. โดยจะมีการวนทำงานขั้นตอนที่ 3,
4 ไปเรื่อยๆ จนหมดสินค้า
6. กลับมาที่จุด Home
เพื่อทำในงานในขั้นตอนที่ 2 – 6 ต่อไป เรื่อยๆจนครบ 3 รอบ
เครื่องจะหยุดการทำงาน
รูปแบบการเคลื่อนที่ แบบที่ 2
จากรูปการทำงานของโปรแกรม
ที่ได้ออกแบบไว้ มีดังนี้
1.เริ่มต้นด้วยการเช็คว่าการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ครั้งแรก/สิ้นคำสั่งสุดท้ายของการทำงานของโปรแกรม
ว่าสล็อตลำเลียงสินค้าสีต่างๆได้อยู่ที่ บริเวณจุดเริ่มต้น
(Home) ของสล็อตรึเปล่า อยู่ด้านซ้ายสุดบริเวณสายพานลำเรียงหรือเปล่า
โดยจะมี Touch Sensor คอยเช็คที่บริเวณจุดเริ่มต้นของสล็อตลำเลียง
ถ้าไม่อยู่บริเวณ Home ระบบจะสั่งให้ Large Motor ทำงาน เพื่อลำเลียงสายพานไปยังบริเวณ Home (บริเวณที่สัมผัสกับ
Touch Sensor)

- เริ่มที่ case 2 {display เสียง Blue+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ degrees = 10}
- ที่ case
3 {display เสียง Green+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ
degrees = 132}
- ที่ case 4
{display เสียง Yellow+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ
degrees = 360}
- ที่ case 5
{display เสียง Red+เคลื่อนที่สายพานไปยังตำแหน่งที่กำหนดคือ
degrees = 530}
4. เมื่อโปรแกรมทำงาน case ใด case หนึ่งเสร็จ Medium Motor ที่อยู่กับสล็อตลำเลียงจะผลักสินค้าสีนั้นๆ
ไปยังภาชนะตำแหน่งที่เซ็ทไว้ในแต่ละ case แล้วก็กลับมายังจุด
Home เพื่อลำเลียงสินค้าชิ้นต่อไป
5. โดยจะมีการวนทำงานขั้นตอนที่ 3,
4 ไปเรื่อยๆ จนหมดสินค้า
6. กลับมาที่จุด Home
เพื่อทำในงานในขั้นตอนที่ 2 – 6 ต่อไป
ลิ้งสำหรับไฟล์โปรแกรมทั้ง 2 แบบ
https://drive.google.com/drive/folders/0B_SuowEAmOPIZXZ5REM5ZzlheUk?usp=sharing
1.5 สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองประกอบชิ้นส่วนขึ้นเป็นรูปร่างของหุ่นยนต์ตัวเรียงสีชิ้นงาน
(Color
Sorter) พร้อมทั้งออกแบบโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์
เพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่กำหนด ทั้งรับค่าสีต่างๆมาจำแนก
ลำเลียงชิ้นงานแต่ละสีไปยังจุดที่กำหนดไว้
โดยการทดลองข้างต้นนี้ได้ออกแบบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ 2 แบบคือ รับค่าสีจากชิ้นงานจำนวนชิ้นตามที่กำหนดแล้วก็ลำเลียงชิ้นงานแต่ละสีไปยังจุดที่กำหนด
และแบบรับค่าสีจากชิ้นงานจำนวนชิ้นตามที่กำหนดแล้วก็ลำเลียงชิ้นงานแต่ละสีไปยังจุดที่กำหนดและมีเสียงกับการแสดงผลสถานะที่หน้าจอหุ่นยนต์เพื่อบอกสถานะ
การทำงาน ผลปรากฏว่า หุ่นยนต์ทำงานได้ตรงตามที่ได้กำหนดกับโปรแกรมไว้ในข้างต้นทั้ง
2 แบบ
การทดลองที่
2 ตัวเรียงสีชิ้นงาน (Color Sorter)
ทำให้รู้ถึงหลักการทำงานของการลำเลียงชิ้นงานเพื่อลำเลียงชิ้นงานไปยังจุดต่างๆได้อย่างไร
และสามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้กับงานจริงในงานอุตสาหกรรมต่างๆได้